'''ตลาดสดชุนชนน้ำโมง''' (NAMMONG Community Market) หรือที่เรียกกันว่า ตลาดน้ำโมง www.facebook.com/NammongMarket เป็นตลาดเอกชนแห่งแรกในตำบลน้ำโมงและเขตสุขาภิบาลอำเภอท่าบ่อในสมัยนั้น และเป็นแห่งที่ 2 ในเขตอำเภอท่าบ่อ รองจากตลาดสดเทศบาลเมืองท่าบ่อ มีสินค้าหลากชนิดให้เลือกสรร แถมได้ของที่ถูกใจในราคาที่ย่อมเยาว์ เริ่มต้นที่ 1 บาท ขึ้นไป สำหรับตลาดมีจำนวนแผงค้าทั้งหมดมากกว่า 50 แผงค้าถาวร และ 15 แผง ชั่วคราว
ตลาดแห่งนี้มีความเป็นมายาวนานกว่า 35 ปี เดิมชื่อ "ตลาดบ้านน้ำโมง" เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 ในสมัยสุขาภิบาลท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย เป็นความคิดริเริ่มของคุณตาจันทร์ และคุณยายหนูจันทร์ พรหมเทศน์ โดยคุณตาจันทร์ พรหมเทศน์ ตำแหน่งขณะนั้นเป็น นักพัฒนาชุมชน สุขาภิบาลท่าบ่อ ที่คิดพัฒนาชมชน โดยเล้งเห็นว่า บ้านน้ำโมง สมัยนั้น ไม่มีตลาด และประกอบกับทางราชการให้เสนอโครงการพัฒนาชุมชนขึ้น จึงได้เสียสละพื้นที่บางส่วนของบ้านตนเองเป็นตลาด นัดตั้งแต่นั้นมา
จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2537 มีตลาดพื้นที่ใกล้เคียงเกิดขึ้น จึงได้งดเว้นไปถึง 15 ปี ต่อมาบรรดาแม่ค้าและพ่อค้าได้รับความเดียดร้อนจึงขอกลับมาขายที่เดิมอีกครั้งหนึ่งในปี 2552 และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ตลาดสดชุนชนน้ำโมง” ให้สอดคล้องกับเทศบาลเมือง ที่มีชุมชนเมือง แทนหมู่บ้าน และได้จดทะเบียนครั้งแรกกับเทศบาลเมืองท่าบ่อ เริ่มวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
ตลาดสดชุมชนน้ำโมง โดย นายเจษฎากร พรหมเทศน์ ผู้จัดการตลาด ได้รับคัดเลือกจาก สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และรับโล่ประกาศเกียรติคุณ "องค์การที่มีกิจกรรมทางสังคมดีเด่น" เนื่องในโอกาสวันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติและวันอาสาสมัครไทย ประจำปี ๒๕๖๐ ในวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๐ จัดโดย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี
"สิ่งที่เป็นตัวอย่าง หรือ แบบฉบับที่ดีต่อสังคม"
ตลาดสดชุมชนน้ำโมง เป็นองค์การธุรกิจ แสดงให้เห็นว่า สามารถดำเนินการธุรกิจที่มีส่วนรับผิดชอบต่อชุมชน สังคมในพื้นที่ได้ดี มีการกระทำที่เป็นตัวอย่าง ทั้งในเรื่อง การรวมกลุ่มเม่ค้า พ่อค้า จัดกิจกรรม ให้ความรู้ความเข้าใจในเป็น สาธารณสุขต่อชุมชน สังคม ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องปลูกฝังจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อประชาชนที่มาใช้บริการในตลาด แม้จะเป็นสิ่งที่ต้องใช้ระยะเวลานานมากในการพัฒนาองค์ความรู้ความเข้าใจให้กับสมาชิก แม่ค้า พ่อค้าในตลาด และเมื่อสามารถมาถึงจุดหนึ่งแล้วก็มีประชาชน ในพื้นที่เป็นความสำคัญและอยากที่จะมาเข้าร่วมในกลุ่ม สมารถขยายกลุ่มเป็นองค์การสวัสดิการชุมชนในพื้นที่ได้ จึงกายเป็นนวัตกรรมใหม่ในชุมชนตลาดสดเอกชนที่ไม่เคยมีการทำมาก่อนพื้นที่จังหวัดหนองคาย เป็นแบบฉบับที่ดีสังคม